เมนู

ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งสักกายะ.

ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน
วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น
แก่เธอเพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน
วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่
พึงพรากได้ 5 ประการนี้แล.
จบนิสสารณียสูตรที่ 10
จบพราหมณวรรควรรณนาที่ 5
จบจตุตถปัณณาสก์

อรรถกถานิสสารณียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนิสารณียสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :
บทว่า นิสฺสารณิยา ได้แก่ สลัดออกไป คือ พรากออกได้. บทว่า
ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากตน. บทว่า กามํ มนสิกโรโต ได้แก่
ใส่ใจถึงกาม อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้วส่งจิตมุ่งต่อกามเพื่อจะทดสอบ
ดุจหยิบยาทดลองพิษ [ฤทธิ์ยา]. บทว่า น ปกฺขนฺทติ คือ ไม่เข้าไป. บทว่า
น ปสีทติ คือ ไม่ถึงความเลื่อมใส. บทว่า น สนฺติฏฺฐติ คือ ไม่ตั้งอยู่.
บทว่า น วิมุจฺจติ คือไม่น้อมไป. เหมือนอย่างว่า ปีกไก่ก็ดี เอ็นกบก็ดี